อินซูลิน (Insulin) จะช่วยกักเก็บน้ำตาลไว้ในตับแล้วปล่อยออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเมื่อร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น
ข้อบ่งใช้
อินซูลิน ใช้สำหรับ
หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงกว่าปกติ อินซูลิน (Insulin) จะช่วยกักเก็บน้ำตาลไว้ในตับแล้วปล่อยออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำหรือเมื่อร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น เช่น ระหว่างมื้ออาหารหรือขณะกำลังออกกำลังกาย ดังนั้นยาอินซูลินจะช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้อยู่ในช่วงปกติ
ยาอินซูลินที่ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานมีหลายประเภท ดังนี้
- ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว
- ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 15 นาทีหลังจากฉีดเข้าไปและออกฤทธิ์สูงสุดที่ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ยังคงออกฤทธิ์ต่อไปอีกเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง
- ยานี้มักจะรับประทานก่อนมื้ออาหารและใช้เสริมกับยาอินซูลินออกฤทธิ์นาน
- ประเภท ยาอินซูลิน กลูไลซีน (Insulin glulisine) อย่าง อะปิดา (Apidra) ยาอินซูลิน ลิสโปร (Insulin lispro) อย่าง ฮูมาล็อก (Humalog) และยาอินซูลิน แอสพาร์ท (Insulin aspart) อย่าง โนโวล็อก (NovoLog)
- ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปกติ
- ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาทีหลังจากฉีดยาและออกฤทธิ์สูงสุดที่ประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง แต่ยังคงออกฤทธิ์ต่อไปอีกเป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง
- ยานี้มักจะรับประทานก่อนมื้ออาหารและใช้เสริมกับยาอินซูลินออกฤทธิ์นาน
- ประเภท ฮูมูลิน อาร์ (Humulin R) โนโวลิน อาร์ (Novolin R)
- ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง
- ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังจากฉีดเข้าไปและออกฤทธิ์สูงสุดที่ประมาณ 4-12 ชั่วโมงให้หลัง และยังคงออกฤทธิ์ต่อไปอีกเป็นเวลา 12-18 ชั่วโมง
- ยานี้มักจะรับประทานวันละสองครั้งและใช้เสริมกับยาอินซูลินออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์ปกติ
- ประเภท เอ็นพีเอช (NPH) (ฮูมูลิน เอ็น หรือ โนโวลิน เอ็น)
- ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน
- ยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลายชั่วโมงหลังจากฉีดเข้าไปและออกฤทธิ์เป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
- หากจำเป็น ยานี้มักจะใช้ร่วมกับยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว
- ประเภท ยาอินซูลิน ดีเทเมียร์ (Insulin detemir) อย่าง เลเวเมียร์ (Levemir) และยาอินซูลิน กลาร์จีน (insulin glargine) อย่าง แลนทัส (Lantus)
วิธีการใช้ยา อินซูลิน
ฉีดยาอินซูลินเข้าใต้ผิวหนัง แพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์จะเป็นผู้สอนวิธีการฉีดยาอินซูลิน บริเวณที่มักจะใช้เพื่อฉีดยาอินซูลินคือ ต้นแขน ต้นขาส่วนหน้าและส่วนข้าง รวมทั้งบริเวณช่องท้อง อย่าฉีดยาอินซูลินในบริเวณที่ใกล้กับสะดือเกินกว่า 2 นิ้ว
เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของคุณหนาขึ้น พยายามอย่าฉีดยาอินซูลินในบริเวณเดียวกันซ้ำไปซ้ำมา ควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดยา
การเก็บรักษายา อินซูลิน
ควรเก็บรักษายาอินซูลินให้ถูกต้องไม่เช่นนั้นยาอาจจะไม่ออกฤทธิ์
- เก็บยาอินซูลินให้ห่างจากความร้อนและแสง ยาอินซูลินที่คุณไม่ได้เก็บไว้ในตู้เย็นควรจะพยายามให้อยู่ในที่เย็น ๆ ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (ระหว่าง 13-26 องศาเซลเซียส)
- อย่าแช่แข็งยาอินซูลิน หากยานั้นแช่แข็งแล้วไม่ควรใช้ยานั้นแม้ว่าจะละลายยาแล้วก็ตาม
- เก็บขวดยาที่ยังไม่ได้ใช้ หลอดบรรจุยา และปากยาฉีดยาอินซูลินไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2 องศาเซลเซียส และ 7-8 องศาเซลเซียส หากเก็บยาได้อย่างถูกต้อง ยานี้จะเป็นปกติดีจนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้บนตัวยา
- เก็บหลอดบรรจุยาอินซูลินและปากกาฉีดยาอินซูลินที่คุณกำลังใช้อยู่ไว้ในอุณหภูมิห้องระหว่าง 13-26 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อินซูลิน
ก่อนใช้ยาอินซูลิน โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ
- หากคุณแพ้ต่อยาอินซูลิน ต่อส่วนผสมอื่น ๆ หรือแพ้ต่อยาอื่น ๆ
- โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรที่คุณกำลังใช้หรือมีแผนที่จะใช้
- หากเส้นประสาทของคุณเสียหายเนื่องจากโรคเบาหวานหรือโรคอื่น ๆ รวมถึงโรคไตหรือโรคตับ
- หากคุณกำลังตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
- หากคุณกำลังรับการผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดทำฟัน
- หากคุณกำลังจะป่วย มีความตึงเครียดผิดปกติ หรือเปลี่ยนระดับการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรม
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
ยาอินซูลินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยา อินซูลิน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลดต่ำเกินไป เมื่อคุณใช้อินซูลินเป็นประจำ ระดับน้ำตาลในเลือดอาจลดต่ำเกินไปได้ในหลายกรณี เช่น เมื่อคุณออกกำลังกายมากกว่าปกติ เมื่อรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือเมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รวมทั้งเมื่อคุณใช้ยาอินซูลินมากเกินไป คนส่วนใหญ่ที่ใช้ยาอินซูลินมักจะมีปฏิกิริยาอินซูลินในบางครั้ง สัญญาณของปฏิกิริยาอินซูลินและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีดังต่อไปนี้
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- หาวบ่อย
- ไม่สามารถพูดหรือคิดได้อย่างชัดเจน
- สูญเสียการเคลื่อนไหวที่สอดประสานของกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออก
- กระตุก
- ชัก
- รู้สึกคล้ายจะหมดสติ
- ตัวซีดมาก
- หมดสติ
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาอินซูลินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใด ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกับยาอินซูลินอาจทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจนอันตรายพร้อมกับอาการ เช่น วิงเวียน หิว หรือเหงื่อออก ได้แก่
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) เช่น ลิซิโนพริล (Lisinopril) ควินาพริล (Quinadril) แคปโตพริล (Captopril) อีนาลาพริล (Enalapril)
- ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blocker medications) เช่น เมโทโพรลอล (Metoprolol) โพรพราโนลอล (Propranolol) ยาหยอดตาสำหรับรักษาโรคต้อหิน เช่น ทิโมลอล (Timolol)
- ยาไดโซไพราไมด์ (Disopyramide)
- ยาสำหรับคอเลสเตอรอล อย่างไฟเบรต (Fibrate)
- ยาปฏิชีวนะซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide antibiotics) เช่น ซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ซัลฟาเมโทซาโซล (Sulfamethoxazole)
- ยาซาลิไซเลต (Salicylates) เช่น แอสไพริน
- ยาในกลุ่มเอ็มเอโอ อินฮิบิเตอร์ (MAOIs) เช่น ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) ฟีเนลซีน (Phenelzine)
- ยาอื่น ๆ เช่น ยาออกทรีโอไทด์ (Octreotide) ยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทาน ยาโพรพอกซิฟีน (Propoxyphene) ยารีเซอร์พีน (Reserpine)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาอินซูลินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาอินซูลินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาอินซูลินสำหรับผู้ใหญ่
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (อินซูลิน กลูลิซีน [Insulin glulisine])
ช่วงขนาดยาปกติคือ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปกติ (ฮูมูลิน อาร์)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- ขนาดยาเริ่มต้น 0.2-0.4 หน่วย/กก./วัน
- ขนาดยาปกติ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน สำหรับผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาอินซูลิน (เช่น เนื่องจากโรคอ้วน) อาจต้องใช้ยาอินซูลินในขนาดยาต่อวันที่สูงกว่า
โรคเบาหวานประเภทที่ 2
ขนาดยาเริ่มต้นที่แนะนำคือ 10 หน่วย/วัน (หรือ 0.1-0.2 หน่วย/กก./วัน)
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (ฮูมูลิน เอ็น)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- แนวทางที่แนะนำสำหรับขนาดยาเริ่มต้น
- ช่วงขนาดยาปกติต่อวันคือ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน ผู้ที่ไม่อ้วนอาจต้องการยาในขนาด 0.4-0.6 หน่วย/กก./วัน ผู้ที่อ้วนอาจต้องการยาในขนาด 0.8-1.2 หน่วย/กก./วัน
โรคเบาหวานประเภทที่ 2
- แนวทางที่แนะนำสำหรับขนาดยาเริ่มต้นคือ 0.2 หน่วย/กก./วัน
- ตอนเช้า ให้ยาอินซูลินสองในสามของขนาดยาต่อวันและอัตราปกติของยาอินซูลินต่อเอ็นพีเอช 1:2
- ตอนเย็น ให้ยาอินซูลินหนึ่งในสามของขนาดยาต่อวันและอัตราปกติของยาอินซูลินต่อเอ็นพีเอช 1:1
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน (ยาอินซูลิน ดีเทเมียร์)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
ขนาดยาเริ่มต้น
- โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ต้องการยาอินซูลินในขนาดประมาณหนึ่งในสามของขนาดยาทั้งหมดต่อวัน ควรใช้ยาอินซูลินก่อนมื้ออาหารแบบออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์ปกติเพื่อให้ตรงกับความต้องการของขนาดยาที่เหลืออยู่ที่น่าพึงพอใจ
- ช่วงขนาดยาปกติต่อวันคือ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน โดยแบ่งให้ยา ผู้ที่ไม่อ้วนอาจต้องการยาในขนาด 0.4-0.6 หน่วย/กก./วัน ผู้ที่อ้วนอาจต้องการยาในขนาด 0.6-1.2 หน่วย/กก./วัน
โรคเบาหวานประเภทที่ 2
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่การรับประทานยานั้นไม่สามารถควบคุมได้อย่างเพียงพอ 10 หน่วย/วัน (หรือ 0.1-0.2 unit/kg/day)
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่การใช้ยาจีแอลพี-1 รีเซปเตอร์ แอนตาโกนิสต์ (GLP-1 receptor agonist) นั้นไม่สามารถควบคุมได้อย่างเพียงพอ 10 หน่วย/วัน
ขนาดยาอินซูลินสำหรับเด็ก
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (อินซูลิน กลูลิซีน)
- อายุน้อยกว่า 4 ปี ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
- อายุ 4-17 ปี อาจต้องการยาในขนาด 0.8-1.2 หน่วย/กก./วัน ในช่วงวัยเจริญเติบโต ไม่เช่นนั้นก็อาจจะใช้ยาในขนาดสำหรับผู้ใหญ่ (0.5-1 หน่วย/กก./วัน)
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปกติ (ฮูมูลิน อาร์)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- ขนาดยาเริ่มต้น 0.2-0.4 หน่วย/กก./วัน
- ขนาดยาปกติ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน สำหรับผู้ป่วยที่ดื้อต่ออินซูลิน (เช่น เนื่องจากโรคอ้วน) อาจต้องใช้ยาอินซูลินในขนาดยาต่อวันที่สูงกว่า
วัยรุ่น อาจต้องการยาในขนาดสูงถึง 1.5 มก./กก./วัน ในช่วงวัยเจริญเติบโต
ความต้องการอินซูลินรวมต่อวันโดยเฉลี่ยสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนอาจจะแตกต่างจาก 0.7-1 หน่วย/กก./วัน แต่อาจต่ำกว่านี้มาก
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (ฮูมูลิน เอ็น)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- อายุน้อยกว่า 12 ปี ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
- อายุมากกว่า 12 ปี ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.5-1 หน่วย/กก./วัน ช่วงขนาดยาปกติต่อวันของวัยรุ่นคือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.2 ในช่วงวัยเจริญเติบโต
ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน (ยาอินซูลิน ดีเทเมียร์)
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- อายุน้อยกว่า 2 ปี ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
- อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี ต้องการยาอินซูลินในขนาดประมาณหนึ่งในสามของขนาดยาทั้งหมดต่อวัน ควรใช้ยาอินซูลินก่อนมื้ออาหารแบบออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์ปกติเพื่อให้ตรงกับความต้องการของขนาดยาที่เหลืออยู่ที่น่าพึงพอใจ ช่วงขนาดยาปกติของวัยรุ่นคือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.2 หน่วย/กก./วัน ในช่วงวัยเจริญเติบโต
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
- กระบอกฉีดยา
- ปากกาฉีดยา
- อินซูลิน ปั๊ม
- ยาพ่น
- อินเจ็คชั่น พอร์ต (Injection port)
- หัวเจ็ทสำหรับฉีด (Jet injector)
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณจำได้ว่าต้องใช้ยาก่อนหรือไม่นานหลังจากมื้ออาหาร ให้รีบใช้ยาทันที หากผ่านไปนานแล้วหลังจากมื้ออาหาร ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือติดต่อแพทย์เพื่อรับทราบว่าคุณควรฉีดยาที่ลืมใช้ไปหรือไม่ อย่าฉีดยาสำหรับ 2 ครั้งเพื่อชดเชยยาที่ลืมใช้ไป
[embed-health-tool-bmi]